อัตราภาษีรถยนต์ คำนวณอย่างไร มาดูวิธีการคำนวนและตัวอย่างกัน

อัตราภาษีรถยนต์

อัตราภาษีรถยนต์ คำนวณอย่างไร มาดูวิธีการคำนวนและตัวอย่างกัน

อัตราภาษีรถยนต์ หลายคนสงสัยว่ามันมีวิธีคำนวนอย่างไร มีตัวแปรหรืออัตราอะไรบ้าง วันนี้ทีมงาน fufu2u จะมาแนะนำวิธีการคำนวนใหเข้าใจได้ง่ายๆให้ครับ


การคำนวนอัตราภาษี รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน

1. ความจุกระบอกสูบ
[ 600 cc ละ 0.5 บาท ]
[ 601-1,800 cc ละ 1.50 บาท]
[ เกิน 1,800 cc ละ 4.00 บาท]

2. เป็นนิติบุคคลที่มิได้เป็นผู้ให้เช่าซื้อ ต้องจ่ายภาษีเพิ่มเป็น 2 เท่า

3. เป็นรถเก่าใช้มานานเกิน 5 ปี ให้ลดภาษี
• 6 ปี ลดร้อยละ 10
• 7 ปี ลดร้อยละ 20
• 8 ปี ลดร้อยละ 30
• 9 ปี ลดร้อยละ 40
• 10 ปี ลดขึ้นไป ร้อยละ 50

4. เป็นรถที่ใช้ล้ออย่างอื่นนอกจากล้อยางกลวงเพิ่มอีก 1/2 เท่า


ตัวอย่างการคำนวนภาษีรถยนต์

รถยนต์อายุรถ 7 ปี เครื่องยนต์ 2,979 cc

• 600 cc แรก cc ละ 0.5 บาท => 600 x 0.5 => 300 บาท
• 601-1800 cc ละ 1.50 บาท => (1,800 – 600) => 1200 x 1.50 => 1,800 บาท
• เกิน 1800 cc ละ 4 บาท => (2,979 – 1,800) x 4 => 1179 x 4.00 = 4,716 บาท

รวม 3 ข้อด้านบน 300 + 1,800 + 4,716 บาท = 6,816 บาท
• นำ 6,816 – 20%(ลดเก่า 7 ปี) => 5,452.80 บาท ที่ต้องชำระภาษี


รถมอเตอร์ไซค์ และ รถที่คิดค่าภาษีเป็นรายคัน

  1. รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล คันละ 100 บาท
  2. รถจักรยานยนต์สาธารณะ คันละ 100 บาท
  3. รถพ่วงของรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล คันละ 50 บาท
  4. รถพ่วงนอกจากข้อ 2.3 คันละ 100 บาท
  5. รถบดถนน คันละ 200 บาท
  6. รถแทรกเตอร์ที่ใช้ในการเกษตร คันละ 50 บาท

การคำนวนอัตราภาษี รถบรรทุกส่วนบุคคล

ของรถบรรทุกส่วนบุคคลจะง่ายหน่อยครับ สามารถนำน้ำหนักรถมาเทียบราคาภาษีได้เลย

น้ำหนักรถ(กิโลกรัม) รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัดรถยนต์บริการ รถยนต์รับจ้าง รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลรถลากจูงรถแทรกเตอร์ที่มิได้ใช้ในการเกษตร
ไม่เกิน 500 150 450 185 300
501 – 750 300 750 310 450
751 – 1,000 450 1,050 450 600
1,001 – 1,250 800 1,350 560 750
1,251 – 1,500 1,000 1,650 685 900
1,501 – 1,750 1,300 2,100 875 1,050
1,751 – 2,000 1,600 2,550 1,060 1,350
2,001 – 2,500 1,900 3,000 1,250 1,650
2,501 – 3,000 2,200 3,450 1,435 1,950
3,001 – 3,500 2,400 3,900 1,625 2,250
3,501 – 4,000 2,600 4,350 1,810 2,550
4,001 – 4,500 2,800 4,800 2,000 2,850
4,501 – 5,000 3,000 5,250 2,185 3,150
5,001 – 6,000 3,200 5,700 2,375 3,450
6,001 – 7,000 3,400 6,150 2,560 3,750
7,001 ขึ้นไป 3,600 6,600 2,750 4,050

สามารถดูน้ำหนักของตัวรถได้ที่ เล่มทะเบียนรถ เลยครับ

** หากเสียภาษีช้าต้องเสียค่าปรับ 1% ต่อเดือน (เศษของวันนับเป็น 1 เดือน)

** สามารถชำระภาษีได้ล่วงหน้า 3 เดือนก่อนครบกำหนดชำระภาษี

ลองคำนวณกันดูนะครับ ไม่ยากอย่างที่คิดแค่รู้อัตราภาษีก่อนคำนวณ แล้วอย่าลืมไปต่อภาษีและ พรบ ก่อนหมดอายุกันด้วยนะครับ^^

 

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ : 

Tel: 02-643-8388-90 ต่อ 600-602 หรือ